วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เป็นวิกฤตการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นจากการประท้วงต่อต้านรัฐบาลตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2557 จัดระเบียบโดย กปปส. กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองซึ่งจัดและมีสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้นำ การประท้วงนี้ลงเอยด้วยยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่ง รัฐประหาร และการสถาปนาคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองเป้าหมายหลักของการประท้วง คือ การขจัดอิทธิพลของอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ในการเมืองไทย และการตั้ง "สภาประชาชน" ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อดูแลการปฏิรูประบบการเมือง[8] ผู้ประท้วงมองว่า พันตำรวจโททักษิณทุจริตอย่างมากและทำให้ประชาธิปไตยของประเทศไทยเสียหาย[9][10] แม้เขาได้รับการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือ เนื่องจากโครงการสังคมปฏิรูปและนโยบายเศรษฐกิจของเขา พรรคการเมืองซึ่งเป็นพันธมิตรของพันตำรวจโททักษิณชนะการเลือกตั้งทุกครั้งตั้งแต่ปี 2544 นักวิเคราะห์และนักวิจารณ์ยังมองว่าประเด็นอื่น เช่น การสืบราชสันตติวงศ์[11][12][13] ความแตกแยกเมือง-ชนบทหรือเหนือ-ใต้[14][15] ความเหลื่อมล้ำทางสังคม[16] ระบบข้าราชการประจำที่รวมศูนย์เกินไป[17][18] อิทธิพลของพระมหากษัตริย์และทหารในการเมือง[19][20][21][22] และสถานภาพชนชั้นกลาง[23][24] เป็นปัจจัยเบื้องหลังวิกฤตการณ์นี้การประท้วงมีสาเหตุจากรัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ โดยเสนอในเดือนสิงหาคม 2556[25]รัฐบาลอ้างว่าจะนิรโทษเฉพาะผู้ชุมนุม และในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ฝ่ายรัฐบาลตอบโต้การชุมนุมครั้งนี้ด้วยการออก พระราชบัญญัติ ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต ระหว่างวันที่ 1 ถึง 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556[26]ต่อมา ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ ได้แปรญัตติ[27]ซึ่งจะนิรโทษกรรมความผิดของทุกฝ่ายย้อนหลังไปถึงปี 2547 โดยถูกหลายฝ่ายคัดค้าน ฝ่ายหนึ่งมีสุเทพ เทือกสุบรรณและพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้นำ และอีกฝ่ายหนึ่งคือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และคนเสื้อแดงบางส่วน ครั้นวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 วุฒิสภาลงมติเป็นเอกฉันท์ไม่เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ทว่า การชุมนุมซึ่งนำโดยสุเทพยังคงดำเนินต่อไป โดยเปลี่ยนเงื่อนไขเป็นการต่อต้านรัฐบาลแทนอีกเหตุการณ์หนึ่ง รัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา เพื่อให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด[2][28] พรรคประชาธิปัตย์ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เป็นการให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ[29] วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ศาลวินิจฉัยตามนั้น พรรคเพื่อไทย ปฏิเสธคำวินิจฉัยนี้[30] ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556 นายกรัฐมนตรีขอถอนร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวคืนจากพระมหากษัตริย์[31]ฝ่าย นปช. จัดชุมนุมตอบโต้ขึ้นที่ราชมังคลากีฬาสถานตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ระหว่างนั้น ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ผู้ชุมนุมฝ่ายสุเทพเข้ายึดสถานที่ราชการเพื่อบีบให้ปิดทำการ มีเหตุรุนแรงที่สำคัญคือ การปะทะกันบริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงตลอดทั้งวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึงเช้าวันที่ 1 ธันวาคม มีผู้เสียชีวิต 4 คน และบาดเจ็บ 57 คน[32][33] การยกระดับการชุมนุมในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ก่อให้เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและตำรวจเป็นเวลาสองวัน ตำรวจใช้แก๊สน้ำตา และหัวฉีดน้ำ เพื่อยับยั้งไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าทำเนียบรัฐบาล มีผู้บาดเจ็บ 119 คน[34] จนวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ตำรวจจึงเปิดให้ผู้ชุมนุมเข้าไปได้ เพื่อสงบศึกในวันเฉลิมพระชนมพรรษา จากนั้น ผู้ชุมนุมจึงชุมนุมกันต่อ ครั้นวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ส.ส. ประชาธิปัตย์ทั้ง 153 คนลาออก และในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 นายกรัฐมนตรียุบสภาผู้แทนราษฎร แล้วให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 แต่สุเทพและผู้ชุมนุมปฏิเสธการเลือกตั้ง และเรียกร้องให้จัดตั้งสภาประชาชนเสียก่อน กลุ่มผู้ประท้วงจึงถูกวิจารณ์ว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตย [35][36]วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557 สุเทพนัดชุมนุมปิดถนนสายหลักในกรุงเทพมหานครเพื่อกดดันรัฐบาล[37][38] นำไปสู่การใช้ความรุนแรงและอาวุธเป็นระยะ ๆ[39][40][41][42]นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นำผู้ชุมนุมปิดกระทรวงพลังงาน ต่อมามีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดยรอบ[43] วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557 กลุ่มผู้ชุมนุมรวมตัวกันขัดขวางการเลือกตั้งล่วงหน้าในกรุงเทพมหานครและภาคใต้ ทำให้การเลือกตั้งเสียระบบ[44] ผู้มีสิทธิเลือกตั้งราว 440,000 คนไม่สามารถออกเสียงลงคะแนนได้ อย่างไรก็ดี รัฐบาลยืนยันเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557 ว่า การเลือกตั้งต้องดำเนินตามกำหนดต่อไป ท้ายที่สุด มีผู้มาเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 46.79[45][46]วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 สุเทพประกาศยุติการปิดถนนในกรุงเทพมหานครในวันที่ 3 มีนาคม และรวมเวทีการชุมนุมทั้งหมดไปอยู่ที่สวนลุมพินี[47] วันที่ 18 มีนาคม 2557 คณะรัฐมนตรีจึงยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และกลับไปใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ตั้งแต่วันรุ่งขึ้น[48]วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ[49][50] แกนนำผู้ชุมนุมยืนยันว่า จะทำให้การเลือกตั้งครั้งใหม่ให้มีผลโมฆะ[51][52]วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอีก 9 คน พ้นจากตำแหน่ง[53] วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 3 นาฬิกา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร[54] อีกสองวันต่อมา กองทัพรัฐประหารรัฐบาลรักษาการ และให้ผู้ชุมนุมสองฝ่ายยุติการชุมนุม[55]บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2556-2557

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

วิธีการ
  • การเดินขบวนและชุมนุมประท้วง
  • การยึดสถานที่ราชการ
  • การปิดการจราจรในทางแยกสำคัญในกรุงเทพ[4]
  • การคว่ำบาตรการเลือกตั้ง
ผล
บาดเจ็บ 827[5] (จนถึง 26 พฤษภาคม 2557)
สาเหตุ
เป้าหมาย
  • การทำให้พรรคเพื่อไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับพันตำรวจโท ทักษิณ หมดอำนาจ
  • การตั้งสภาประชาชนซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งให้มาควบคุมการปฏิรูปการเมือง[3]
สถานที่ กรุงเทพมหานครและหลายจังหวัดของประเทศไทย
วันที่ 31 ตุลาคม 2556 – 22 พฤษภาคม 2557
เสียชีวิต 36[5]
ถูกจับกุม 12[6][7] (จนถึง 12 กุมภาพันธ์ 2557)

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2014/02/0... http://www.abc.net.au/news/2014-02-04/an-us-warns-... http://english.cntv.cn/20140202/100036.shtml http://www.china.org.cn/world/2013-12/04/content_3... http://bangkok.coconuts.co/2014/01/29/10000-police... http://bangkok.coconuts.co/2014/01/29/thailands-po... http://bangkok.coconuts.co/2014/03/17/afp-new-thai... http://america.aljazeera.com/opinions/2013/12/the-... http://www.aljazeera.com/news/asia-pacific/2014/01... http://www.aseanaffairs.com/thailand_news/politics...